ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Learning) วิสัยทัศน์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
(2552-2561) กำหนดให้“คนไทยได้เรียนรู้ตลอด ชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
โดยมีจุดเน้นการปฏิรูป
3 เรื่อง ได้แก่
1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้
2. โอกาสทางการศึกษา เปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3. การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม
คุณภาพของการศึกษาและการเรียนรู้จะต้องบรรลุ 4 คุณภาพ คือ 1) คุณภาพคนไทยยุคใหม่
2) คุณภาพครูยุคใหม่ 3) คุณภาพแหล่งเรียนรู้/สถานศึกษายุคใหม่ 4) คุณภาพการบริหารจัดการใหม่ เป้าหมายยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ไว้ดังนี้
1. คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล
2. คนไทยใฝ่รู้ : สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง รักการอ่านและแสวงหาความรู้
3. คนไทยใฝ่ดี : มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์เห็นประโยชน์ส่วนรวม มีจิต สาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย
4. คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ : มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแข่งขัน
นโยบายหลักเพื่อขับเคลื่อนในประเด็นหลักที่ 1 คือ กระบวนการเรียนรู้ใหม่ เช่น นโยบายพัฒนา ผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น และเทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบายการปรับหลักสูตร การเรียนการสอนเน้นกิจกรรมมากขึ้น นโยบาย ส่งเสริมการสอนแบบใหม่โดยใช้วิจัย โครงการ และกิจกรรม อีกทั้งยังกำหนดประเด็นหลักที่ 2 การพัฒนาครู ยุคใหม่ โดยพัฒนาครูด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาไทย อังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ และเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาครูประจำการให้เป็นครูยุคใหม่ จะเห็นได้ว่าประเด็นหลักการพัฒนาครู จึงเป็นประเด็นหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนส่งผลให้การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ปัจจัยความสำเร็จที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้
2. โอกาสทางการศึกษา เปิดโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3. การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม
คุณภาพของการศึกษาและการเรียนรู้จะต้องบรรลุ 4 คุณภาพ คือ 1) คุณภาพคนไทยยุคใหม่
2) คุณภาพครูยุคใหม่ 3) คุณภาพแหล่งเรียนรู้/สถานศึกษายุคใหม่ 4) คุณภาพการบริหารจัดการใหม่ เป้าหมายยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ไว้ดังนี้
1. คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล
2. คนไทยใฝ่รู้ : สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง รักการอ่านและแสวงหาความรู้
3. คนไทยใฝ่ดี : มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์เห็นประโยชน์ส่วนรวม มีจิต สาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย
4. คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ : มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแข่งขัน
นโยบายหลักเพื่อขับเคลื่อนในประเด็นหลักที่ 1 คือ กระบวนการเรียนรู้ใหม่ เช่น นโยบายพัฒนา ผู้เรียนให้มีทักษะวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น และเทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบายการปรับหลักสูตร การเรียนการสอนเน้นกิจกรรมมากขึ้น นโยบาย ส่งเสริมการสอนแบบใหม่โดยใช้วิจัย โครงการ และกิจกรรม อีกทั้งยังกำหนดประเด็นหลักที่ 2 การพัฒนาครู ยุคใหม่ โดยพัฒนาครูด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาไทย อังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นๆ และเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาครูประจำการให้เป็นครูยุคใหม่ จะเห็นได้ว่าประเด็นหลักการพัฒนาครู จึงเป็นประเด็นหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนส่งผลให้การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ปัจจัยความสำเร็จที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
2. ทักษะชีวิต (Life and Professional Skill)
3. ทักษะและความรักในการเรียนรู้
4. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Skill)
4. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Skill)
ที่มา : รูปภาพ 1
ห้องเรียนแห่งอนาคตผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร?
ความคิดสร้างสรรค์ หรือจินตนาการทางด้านความคิด (Creative) เพราะเนื่องจากในปัจจุบัน
หลายประเทศได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก
เพราะความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างคุณค่าและความได้เปรียบทางการแข่งขันเป็นอย่างมาก
แต่ในประเทศไทยนั้น การศึกษาของบ้านเรายังเน้นการท่องจำ เน้นการเรียนเพื่อนำไปสอบ
จึงไม่สามารถทำให้เด็กไทยมีความคิดสร้างสรรค์ได้เท่าที่ควร ดังนั้น
ห้องเรียนดังกล่าวจึงออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาวะสังคมแห่งอนาคต
โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ Creative Based Learning ซึ่งได้รับการทดสอบมาแล้วตั้งแต่ปี
2554 ให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบสร้างสรรค์ คิดและแสดงออกแบบสร้างสรรค์
โดยการค้นคว้า การแสดงออก และการนำเสนอ นอกจากนั้น
ผู้เรียนยังได้รับความสนุกสนานจากการฝึกความคิดสร้างสรรค์
ด้วยเกมส์ที่พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ เช่น เกมส์มองหลากมุม เกมส์คำตอบดีมีมากมาย
เป็นต้น
การสื่อสาร
(Communication) ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของเด็กไทยคือการที่เด็กไทยไม่กล้าที่จะแสดงออก
ขี้อาย กลัวว่าสิ่งที่ตัวเองตอบจะผิด ซึ่งเป็นกรอบการเรียนที่พบเจอในปัจจุบัน
ในขณะที่ต่างประเทศกำลังให้ความสำคัญกับการสื่อสารเป็นอย่างมาก
แรงบันดาลใจ
(Inspiration) หากเราเคยได้ยินบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ
ที่ประสบความสำเร็จเล่าให้เราฟังถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา
เราจะพบว่าคนเหล่านั้นไม่ได้อะไรมาง่ายๆ ส่วนมากเริ่มจากศูนย์ ต้องใช้ความมุ่งมั่น
ความพยายาม อดทนต่อความลำบาก ต่อสู้กับปัญหาต่างๆ มากมาย กว่าจะสำเร็จและสุขสบายได้เช่นทุกวันนี้
ที่มา : รูปภาพ 2 |
ผลที่เกิดจากการประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
ซึ่งกำลังเริ่มเปลี่ยนสังคมและเศรษฐกิจโลกไปทีละเล็กละน้อยนี้
หลายคนอาจจะไม่ได้สังเกตว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมีบทบาทอย่างมากต่อรูปแบบการเรียนการสอน
อีกทั้งยังมีบทบาทในการทำงาน และนับวันจะมีบทบาทมากขึ้นต่อการดำเนินชีวิต
ส่งผลให้องค์กรแต่ละแห่งต้องคิดทบทวนเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีดำเนินงานในปัจจุบัน
ด้วยการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยงาน อันจะนำไปสู่การปรับปรุงและการพัฒนา
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งอนาคต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น